วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การลำเลียงของสารผ่านเซลล์



ยื่อหุ้มเซลล์มีสมบัติสามารถรวมตัวกับเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์หรือแยกตัวออกเพื่อสร้าง
เวสิเคิล ทำให้เซลล์สามารถใช้เยื่อหุ้มเซลล์ล้อมรอบสารโมเลกุลใหญ่ได้
       การลำเลียงแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ตามทิศทางการลำเลียงออกหรือเข้าเซลล์ คือ เอกโซไซโทซิส (exocytosis) และ เอนโดไซโทซิส  (endocytosis)
เอกโซไซโทซิส (exocytosis) 
           เป็นการลําเลียงสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ออกจากเซลล์ เช่น สารพวกเอนไซม์ หรือ ฮอร์โมน จะถูกสังเคราะห์ขึ้นจากเอนโดพลาสมิกเรติคูลัมชนิดขรุขระ ซึ่งเป็นเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม ชนิดที่มีไรโบโซมเกาะอยู่ด้วย สารที่สังเคราะห์ได้จะถูกส่งไปยัง กอลจิบอดี เพื่อเก็บรวบรวมและ สร้างเป็นถุงเล็ก ๆ เรียกว่า เวสิเคิล
           เวสิเคิลจะเคลื่อนที่มาที่ผิวเซลล์ เมื่อสัมผัสกับเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อของเวสิเคิลจะรวมตัวกับ เยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้สารที่อยู่ภายในเวสิเคิลถูกปล่อยออกไปนอกเซลล์ เพื่อไปทำหน้าที่ ของสารนั้นๆ    
           การลำเลียงสารออกนอกเซลล์ พบได้หลายลักษณะ เช่น เยื่อบุผนังกระเพาะอาหาร และ ลำไส้หลั่งเอนไซม์ ต่อมไร้ท่อต่าง ๆ หลั่งฮอร์โมน การกำจัดของเสียที่ย่อยไม่ได้ออกจากเซลล์   
เอนโดไซโทซิส ( endocytosis )
           เป็นการลําเลียงสารตรงกันข้ามกับ เอกโซไซโทซิส คือ เป็นการลำเลียงสารขนาดใหญ่ เข้าสู่เซลล์ เอนโดไซโทซิสในสิ่งมีชีวิต มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามกลไกการลำเลียง  เช่น ฟาโกไซโทซิส (phagocytosis) พิโนไซโทซิส (pinocytosis) และ การนำสารเข้าสู่เซลล์โดยอาศัยตัวรับ(receptor-mediated endocytosis)

การจำแนกหมู่โลหิตในระบบ ABO


       จะมีสารชีวเคมี (Antigen) เป็นตัวจำแนกหมู่โลหิต คือ  Antigen-A  และ  Antigen-B เป็นตัวกำหนด กล่าวคือ

หมู่โลหิต A  คือ หมู่โลหิตที่มี Antigen-A อยู่ที่ผิวของเม็ดโลหิตแดงและมี Antibody-B อยู่ในน้ำเหลือง
หมู่โลหิต B  คือ หมู่โลหิตที่มี Antigen-B อยู่ที่ผิวของเม็ดโลหิตแดง และมี Antibody-A อยู่ในน้ำเหลือง
หมู่โลหิต O  คือ หมู่โลหิตที่ไม่มี Antigen-A และAntigen-B อยู่ที่ผิวของเม็ดโลหิตแดง  แต่มีAntibody-A  และ Antibody-B  อยู่ในน้ำเหลือง
หมู่โลหิต AB  คือ  หมู่โลหิตที่มี Antigen-A และAntigen-B อยู่ที่ผิวของเม็ดโลหิตแดงแต่ในน้ำเหลืองไม่มี Antibody-A และ Antibody-B
หมู่โลหิตระบบ Rh
หมู่โลหิตของมนุษย์เรานอกจากจะมีระบบ  ABO  แล้ว  ยังมีหมู่โลหิตอีกระบบหนึ่งที่มีความสำคัญเรายังรู้จักกันน้อย  คือ หมู่โลหิตระบบ Rh
การจำแนกหมู่โลหิตระบบ Rh เม็ดโลหิตแดงจะมีสารโปรตีนที่อยู่บนผิวของเม็ดโลหิตแดง ซึ่งเรียกว่าAntigen - D เป็นตัวบ่งบอกหมู่โลหิตระบบ Rh (D)แบ่งออกเป็น 2 หมู่ คือ
1.   หมู่โลหิต Rh บวก (Rh positive)   คือ หมู่โลหิตที่มีAntigen - D อยู่ที่ผิวของเม็ดโลหิตแดง ในคนไทยมีหมู่โลหิต Rh (D) บวกประมาณ 99.7%
2.   หมู่โลหิต Rh ลบ (Rh negative)   คือ หมู่โลหิตที่ไม่มี Antigen - D อยู่ที่ผิวของเม็ดโลหิตแดง ในคนไทยพบว่ามีหมู่โลหิตนี้เพียง 0.3 % ซึ่งเรามักเรียกว่า “หมู่โลหิตพิเศษ” นั่นเอง